เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 2. ฉวิโสธนสูตร

4. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
5. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่
ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้ว
ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่ง
เสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชม ยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
6. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
7. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่
อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่กาลเวลา
8. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม1และภูตคาม2
9. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล3
10. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่น
ที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
11. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
12. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
13. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
14. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ4
15. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 2. ฉวิโสธนสูตร

16. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
17. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
18. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
19. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
20. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
21. เว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน
22. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
23. เว้นขาดจากการซื้อขาย
24. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่อง
ตวงวัด
25. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
26. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก
ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ
ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์เช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
[103] ข้าพเจ้านั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :123 }